เมนู

เป็นฐานของปลาและเต่าที่มีเจ้าของ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใด เอาเบ็ดก็ดี ข่าย
ก็ดี ไซก็ดี มือก็ดี จับเอาปลาที่มีเจ้าของ ในที่ที่เขายังรักษา, วัตถุปาราชิก
จะครบด้วยปลาตัวใด, เมื่อปลาตัวนั้น สักว่าภิกษุยกขึ้นจากน้ำแม้เพียงปลาย
เส้นผม ภิกษุนั้น ต้องปาราชิก. ปลาบางตัวเมื่อถูกจับ วิ่งไปทางโน้นและทางนี้
กระโดดขึ้นไปยังอากาศ ตกลงไปที่ตลิ่ง, แม้เมื่อภิกษุจับเอาปลาตัวที่อยู่ใน
อากาศหรือที่ตกไปที่ตลิ่งนั้น ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อภิกษุจับเอาแม้เต่า
ตัวที่คลานไปหาอาหารกินภายนอกขอบสระ ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็เมื่อภิกษุ
ให้สัตว์น้ำพ้นจากน้ำ เป็นปาราชิก.

[

สมัยหลังพุทธกาลพวกชนขุดบ่อน้ำใช้เลี้ยงปลา

]
ชนทั้งหลายในชนบทนั้นๆ อาศัยลำราง สำหรับไขน้ำของสระใหญ่ที่
ทั่วไปแก่ชนทั้งปวง ชุดห้วงน้ำเช่นกับแม่น้ำน้อยอันทั่วไปแก่ชนทั้งปวงเหมือน
กัน. พวกเขาได้ชักลำรางเล็กๆ จากห้วงน้ำ คล้ายกับแม่น้ำนั้นไป แล้วขุดเป็น
บ่อไว้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอยของตนๆ ที่ปลายราง. และชนเหล่านั้นมี
ความต้องการน้ำในเวลาใด ในเวลานั้นจึงชำระลำรางเล็กในบ่อ และห้วงน้ำ
ให้สะอาด แล้วลอกลำรางสำหรับไขน้ำไป. ปลายทั้งหลายออกจากสระใหญ่นั้น
พร้อมกับน้ำ ไปถึงบ่อโดยลำดับแล้วอยู่. ชนทั้งหลายไม่ห้ามผู้ที่จับปลาในสระ
และห้วงน้ำนั้น. แต่ไม่ยอม คือ ห้ามมิให้จับปลาทั้งหลายที่เข้าไปในลำรางและ
บ่อน้ำเล็ก ๆ ของตน ๆ.

[

ภิกษุจับเอาปลาที่เขาเลี้ยงปรับอาบัติตามราคาปลา

]
ภิกษุใดจับปลาในที่เหล่านั้น ในสระหรือในลำรางสำหรับไขน้ำ หรือ
ในห้วงน้ำ, ภิกษุนั้น อันพระวินัยธรพึงไห้ปรับอาบัติด้วยอวหาร. แต่เมื่อ

จับปลาที่เข้าไปในลำรางเล็ก หรือในบ่อแล้ว พึงปรับอาบัติด้วยอำนาจแห่ง
ราคาปลาที่จับได้. ถ้าปลาที่กำลังถูกจับ จากลำรางเล็กและบ่อน้ำนั้น กระโดด
ขึ้นไปในอากาศ หรือตกลงมาริมตลิ่ง, เมื่อภิกษุจับเอาปลานั้น ซึ่งอยู่ในอากาศ
หรือที่อยู่บนตลิ่งพ้นจากน้ำแล้ว อวหาร ไม่มี. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า
ชนเหล่านั้นเป็นเจ้าของปลา ซึ่งอยู่ในที่หวงห้ามของตนเท่านั้น. จริงอยู่ กติกา
เห็นปานนี้ เป็นกติกาในชนบทเหล่านั้น. แม้ในเต่า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็
ถ้าว่า ปลาที่กำลังจะถูกจับว่ายขึ้นจากบ่อไปลงรางเล็ก, แม้เมื่อภิกษุจับปลานั้น
ในรางเล็กนั้น เป็นอวหารแท้. แต่ไม่เป็นอวหารแก่ภิกษุผู้จับปลาที่ว่ายขึ้นจาก
ลำรางเล็กไปลงห้วงน้ำ และว่ายขึ้นจากห้วงน้ำนั้นไปลงสระแล้ว. ภิกษุเอา
เมล็ดข้าวสุกล่อปลาจากบ่อไปขึ้นลำรางแล้วจับเอา, เป็นอวหารแก่ภิกษุนั้นแท้.
แต่ไม่เป็นอวหารแก่ภิกษุผู้ล่อจากลำรางนั้นไปลงห้วงน้ำแล้วจับเอา. ชนบาง
พวก นำเอาปลาจากที่สาธารณะแก่ชนทั้งปวง บางแห่งนั่นแล ขังเลี้ยงไว้ใน
บ่อน้ำที่หลังสวน แล้วฆ่าเสียคราวละ 2 - 3 ตัว เพื่อประโยชน์แก่แกงเผ็ด
ทุกวัน. เมื่อภิกษุจับปลาเห็นปานนั้น ซึ่งอยู่ในน้ำ หรือบนอากาศ หรือริม
ตลิ่งแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นอวหารแท้. แม้ในเต่า ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ก็ในฤดูแล้ง กระแสน้ำในแม่น้ำขาดสาย น้ำย่อมขังอยู่ในที่ลุ่มบาง
แห่ง. มนุษย์ทั้งหลายโปรยผลไม้เบื่อเมาและยาพิษเป็นต้นลง เพื่อความวอด
วายแห่งปลาทั้งหลายในลุ่มน้ำนั้นแล้วไปเสีย. ปลาทั้งหลาย กินผลไม้เบื่อเมา
และยาพิษเป็นต้นเหล่านั้น แล้วตายหงายท้องลอยอยู่บนน้ำ. ภิกษุใดไปในที่
นั้นแล้ว จับเอาด้วยทำในใจว่า เจ้าของยังไม่มาเพียงใด, เราจักจับเอาปลา
เหล่านี้เพียงนั้น, ภิกษุนั้น พระวินัยธร พึงปรับอาบัติตามราคา. เมื่อเธอ

ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญาไม่เป็นอวหาร. แต่เมื่อเจ้าของให้นำมาเป็นภัณฑไทย
มนุษย์ทั้งหลายโปรยยาพิษเบื่อปลาแล้วพากันกลับไปนำภาชนะมาบรรจุให้เต็ม
แล้วไป. พวกเขายังอาลัยอยู่ว่า พวกเราจักกลับมาแม้อีก เพียงใด, ปลา
เหล่านั้น ยังจัดว่าเป็นปลามีเจ้าของเพียงนั้น. แต่เมื่อใด พวกเขาสิ้นอาลัย
หลีกไปเสียด้วยปลงใจว่า พวกเรา พอละ จำเดิมแต่นั้นไป เป็นทุกกฎแก่ภิกษุ
ผู้ถือเอาด้วยไถยจิต, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีบังสุกุลสัญญา. พึงทราบวินิจฉัย
ในชาติสัตว์น้ำแม้ทุกชนิดเหมือนในปลาและเต่า.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงเรือเป็นอันดับแรกก่อน จึงตรัสว่า นาวา นาม ยาย ตรติ ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ในอธิการว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือนี้ พาหนะสำหรับข้ามน้ำ
โดยที่สุด จะเป็นรางย้อมผ้าก็ตาม แพไม้ไผ่ก็ตาม พึงทราบว่า เรือ ทั้งนั้น.
ส่วนในการสมมติสีมา เรือประจำที่ภิกษุขุดภายใน หรือต่อด้วยแผ่นกระดาน
จัดทำไว้ โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด บรรทุกคนข้ามฟากได้ถึง 3 คน จึงใช้ได้.
แต่ในนาวัฎฐาธิการนี้ บรรทุกคนได้แม้คนเดียว ท่านก็เรียกว่า เรือ เหมือนกัน.
ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องกับตัวเรือก็ตาม ไม่เนื่องกับตัวเรือ
ก็ตาม ชื่อว่าภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือ. ลักษณะการลักภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่บนบก นั่นแล. การแสวงหาเพื่อน
การเดินไป การจับต้อง และการทำให้ไหว ในคำเป็นต้นว่า นาวํ อวหริสฺสามิ
มีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. ส่วนในคำว่า พนฺธนํ โมจติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
เรือลำใด เมื่อแก้เครื่องผูกแล้ว ก็ยังไม่เคลื่อนจากฐาน, เครื่องผูกของเรือ
ลำนั้น ยังแก้ไม่ออกเพียงใด, เป็นทุกกฏเพียงนั้น, แต่ครั้นแก้ออกแล้ว
เป็นถุลลัจจัยก็มี เป็นปาราชิกก็มี. คำนั้น จำมีแจ้งข้างหน้า. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. พรรณนาเฉพาะบาลีมีเท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยนอกบาลี ในนาวัฏฐาธิการนี้ มีดังต่อไปนี้ :- สำหรับ
เรือที่ผูกจอดไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว มีฐานเดียว คือ เครื่องผูกเท่านั้น. เมื่อ
เครื่องผูกนั้น สักว่าแก้ออกแล้วต้องปาราชิก. ความยุกติในเครื่องผูกนั้น ได้
กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนในเรือที่เขาล่มไว้ ตั้งแผ่ไปตลอดประเทศ